ภูมิภาคของประเทศไทย


ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการวิกิมีเดีย

Article Images

ภูมิภาค เป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งมีการแบ่งภูมิภาคที่แตกต่างกัน โดยมีการแบ่งอย่างเป็นทางการเป็น 6 ภูมิภาค ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ และยังมีการแบ่งเป็น 4 ภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับการแบ่งแบบมณฑลเทศาภิบาล

เมื่อเปรียบเทียบกับการแบ่งแบบจังหวัดของประเทศไทย การแบ่งภูมิภาคนั้นไม่ได้มีผู้บริหารเหมือนการแบ่งแบบจังหวัด แต่จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ สถิติ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา และการท่องเที่ยว

ในสมัยที่ประเทศไทยยังมีการปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2458 เพื่อกำกับมณฑล โดยมี "อุปราช" เป็นผู้ปกครองภาค ต่อมาได้มีการยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลในปี พ.ศ. 2476 ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด

การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย มีการจำกัดความที่แตกต่างกันตามหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

การแบ่งอย่างเป็นทางการ

แก้

การแบ่งภูมิภาคแบบ 6 ภูมิภาค ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478[1] และจัดให้เป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520 ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ การแบ่งแบบนี้ประกอบไปด้วย 6 ภูมิภาค ได้แก่

การแบ่งภูมิภาคแบบ 4 ภูมิภาค ใช้ในบางบริบทในการบริหารและสถิติ และยังเป็นการแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมแบบกว้าง ๆ โดยจัดให้ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกรวมอยู่ในภาคกลาง ในขณะที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี อยู่ในภาคเหนือ การแบ่งแบบนี้ใช้กันมากในโทรทัศน์แห่งชาติ เมื่อพูดถึงสภาพอากาศหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

แก้

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางการท่องเที่ยว[2] ได้แก่

การแบ่งตามการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีการแบ่งภาคเหนือกับภาคกลางเหมือนกันกับการแบ่งแบบสี่ภูมิภาค และมีการแบ่งภาคตะวันออกกับภาคกลางเหมือนกันกับการแบ่งแบบหกภูมิภาค

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

แก้

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค มีขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เหมือนกับภูมิภาคทาง ภูมิศาสตร์ แต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้[3]

กรมอุตุนิยมวิทยาได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 7 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางอุตุนิยมวิทยา[4] แตกต่างจากการแบ่งแบบ 4 ภาค คือ มีการแยกภาคตะวันออกออกจากภาคกลาง ภาคใต้จะแบ่งเป็นภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดอุทัยธานีจัดให้อยู่ในภาคกลาง และจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จัดให้อยู่ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก

กรมทางหลวง แบ่งประเทศไทยออกเป็น 4 ภาค ตามลำดับหมายเลขทางหลวง ได้แก่

กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 9 ภาค ตามระบบรหัสไปรษณีย์

การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

แก้

แบ่งโดยใช้จำนวนประชากรในกลุ่มแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มโดยให้มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกันและ ในแต่ละกลุ่มจะต้องมีพื้นที่ต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียว

 
  กลุ่มที่ 1
มีจำนวน 11 จังหวัด ประชากรรวม 7,615,610 คน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ สุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร
  กลุ่มที่ 2
มีจำนวน 9 จังหวัด ประชากรรวม 7,897,563 คน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร ชัยภูมิ ขอนแก่น ลพบุรี นครสวรรค์ และอุทัยธานี
  กลุ่มที่ 3
มีจำนวน 10 จังหวัด ประชากรรวม 7,959,163 คน ได้แก่ จังหวัดหนองคาย อุดรธานี เลย นครพนม สกลนคร หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม และอำนาจเจริญ
  กลุ่มที่ 4
มีจำนวน 6 จังหวัด ประชากรรวม 7,992,434 คน ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์
  กลุ่มที่ 5
มีจำนวน 10 จังหวัด ประชากรรวม 7,818,710 คน ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และปทุมธานี
  กลุ่มที่ 6
มีจำนวน 3 จังหวัด ประชากรรวม 7,802,639 คน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
  กลุ่มที่ 7
มีจำนวน 15 จังหวัด ประชากรรวม 7,800,965 คน ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
  กลุ่มที่ 8
มีจำนวน 12 จังหวัด ประชากรรวม 7,941,622 คน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา
จังหวัด 6 ภูมิภาค (ภูมิศาสตร์) 4 ภูมิภาค (การเมือง) 6 ภูมิภาค (อุตุนิยมวิทยา) 5 ภูมิภาค (การท่องเที่ยว)
อำนาจเจริญ, บึงกาฬ, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, เลย, มหาสารคาม, มุกดาหาร, นครพนม, นครราชสีมา, หนองบัวลำภู, หนองคาย, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, อุบลราชธานี, อุดรธานี, ยโสธร ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ
เชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน, น่าน, พะเยา, แพร่, อุตรดิตถ์ เหนือ เหนือ เหนือ เหนือ
ตาก ตะวันตก
สุโขทัย, พิษณุโลก, พิจิตร, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์ กลาง
นครสวรรค์ กลาง
อุทัยธานี,อ่างทอง, ชัยนาท, พระนครศรีอยุธยา, กรุงเทพมหานคร, ลพบุรี, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี

|rowspan="5"|กลาง |rowspan="2"|กลาง |- |นครนายก |rowspan="2"|ตะวันออก |- |ฉะเชิงเทรา, จันทบุรี, ชลบุรี, ปราจีนบุรี, ระยอง, สระแก้ว, ตราด |ตะวันออก |ตะวันออก |- |กาญจนบุรี, ราชบุรี |rowspan="2"|ตะวันตก |กลาง |rowspan="2"|กลาง |- |เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์ |rowspan="2"|ใต้ฝั่งตะวันออก/ใต้ฝั่งอ่าวไทย |- |ชุมพร, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, ปัตตานี, พัทลุง, สงขลา, สุราษฎร์ธานี, ยะลา |rowspan="2"|ใต้ |rowspan="2"|ใต้ |rowspan="2"|ใต้ |- |กระบี่, พังงา, ภูเก็ต, ระนอง, สตูล, ตรัง |ใต้ฝั่งตะวันตก/ใต้ฝั่งอันดามัน |}

  1. Mundus. Wissenschaftliche Verlagsgesellschaft. 1981. p. 65. สืบค้นเมื่อ 17 January 2012.
  2. "Thailand travel guide, destinations and maps". TAT website. Tourism Authority of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
  3. การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย
  4. "สภาพอากาศประเทศไทย". TMD website. Thai Meteorological Department. สืบค้นเมื่อ 25 January 2012.