โอลิมปิกฤดูร้อน 2000


ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการวิกิมีเดีย

Article Images

มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27 ประจำปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) หรือในอีกชื่อว่า มหกรรมกีฬาแห่งสหัสวรรษใหม่ เป็นงานกีฬาระดับโลกจัดขึ้นที่นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย ถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติในห้วงรอยต่อของสหัสวรรษ ซึ่งกว่าการแข่งขันจะเริ่มต้นในวันที่ 15 กันยายน 2543 และไฟในกระถางคบเพลิงดับลงในวันที่ 1 ตุลาคม ของปีเดียวกัน ทีมงานจัดการแข่งขันได้ทำการบ้านอย่างหนักตลอดเวลา 7 ปีนับแต่ได้รับมอบสิทธิ์ให้เป็นผู้รับหน้าเสื่อจัดการแข่งขัน

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27
Games of the XXIV Olympiad
เมืองเจ้าภาพออสเตรเลีย ซิดนีย์ ออสเตรเลีย
คำขวัญมหกรรมกีฬาแห่งสหัสวรรษใหม่
(อังกฤษ: The Games of New Millennium)
ประเทศเข้าร่วม199 (+ นักกีฬาอิสระ 4 คน (IOA))
นักกีฬาเข้าร่วม10,651 (6,582 ชาย 4,069 หญิง)
กีฬา28 ชนิด
พิธีเปิด15 กันยายน พ.ศ. 2543
พิธีปิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ประธานพิธีวิลเลียม ดีนน์
(ผู้สำเร็จราชการแห่งออสเตรเลีย)
นักกีฬาปฏิญาณเรเชลล์ ฮอกส์
ผู้ตัดสินปฏิญาณปีเตอร์ เคอรร์
ผู้จุดคบเพลิงคาธี ฟรีแมน
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาออสเตรเลีย

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

แก้

ดูเพิ่ม: การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ของซิดนีย์

ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 ในการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี.) ครั้งที่ 101 ที่โมนาโก วันนั้นได้ถูกกำหนดให้เป็นวันชี้ชะตาถึงเมืองจากประเทศต่างๆ ที่ได้เสนอตัวเข้าชิงชัยสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 27 ซึ่งเมืองในกลุ่มนั้น ประกอบด้วย ซิดนีย์ของออสเตรเลีย ปักกิ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน เบอร์ลินของเยอรมัน อิสตันบูลของตุรกี แมนเชสเตอร์ของอังกฤษ โดยมีบราซิเลียของบราซิล มิลานของอิตาลี รวมถึงทัชเคนต์ของอุซเบกิสถาน ที่ได้ถอนตัวก่อนการตัดสินรอบแรก

และเป็นนครซิดนี่ย์ ของออสเตรเลีย ที่สามารถเอาชนะคู่แข่งสำคัญอย่าง กรุงปักกิ่ง ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ในการประกาศผลรอบสุดท้ายด้วยคะแนนฉิวเฉียด 45 : 43 โดยเหตุผลสำคัญๆ ที่คณะกรรมการรณรงค์การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ 2543 ของซิดนีย์ ใช้เป็นไพ่ตายนอคกรุงปักกิ่ง คือ เรื่องของเศรษฐกิจ และระบบการปกครอง รวมถึงการดึงเรื่องของสิทธิประโยชน์มาเป็นจุดขาย กล่าวคือ นักกีฬาและเจ้าหน้า ที่จากทุกชาติที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกของสหพันธ์กีฬาระดับนานาชาติมาแล้วนั้น คณะกรรมการโอลิมปิกแต่ละชาติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายการเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหารเลยนั่นเอง

คะแนนผลการตัดสินคัดเลือกประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพ
เมือง ประเทศ รอบ 1 รอบ 2 รอบ 3 รอบ 4
ซิดนีย์   ออสเตรเลีย 30 30 37 45
ปักกิ่ง   จีน 32 37 40 43
แมนเชสเตอร์   สหราชอาณาจักร 11 13 11 -
เบอร์ลิน   เยอรมนี 9 9 - -
อิสตันบูล   ตุรกี 7 - - -

สัญลักษณ์

แก้

สำหรับมัสค็อต หรือสัตว์นำโชคของการแข่งขันซิดนี่ย์เกมส์ 2543 ครั้งนี้มากันเป็นชุดมีทั้งสิ้น 3 ตัว ประกอบด้วย

  • "เม่นน้อย" น่ารักน่าชัง ที่ชื่อเก๋ไก๋ว่า "มิลลี่" มีที่มาจาก มิลเลนเนี่ยม (สหัสวรรษ)
  • "นกคูคาบูร่า" ที่ชื่อ "โอลลี่" ที่มาจาก "โอลิมปิก"
  • "ตุ่นปากเป็ด" ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ซิด" ที่บ่งบอกถึง "ซิดนี่ย์" สังเวียนชิงชัยหลักนั่นเอง

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

แก้

ประเทศที่ร่วมแข่งขัน

แก้

 
แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน (สีเขียว)

สรุปเหรียญการแข่งขัน

แก้

ดูเพิ่ม: สรุปเหรียญโอลิมปิกฤดูร้อน 2000

ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1   สหรัฐ 40 24 33 97
2   รัสเซีย 32 28 28 88
3   จีน 28 16 15 59
4   ออสเตรเลีย (เจ้าภาพ) 16 25 17 58
5   เยอรมนี 13 17 26 56
6   ฝรั่งเศส 13 14 11 38
7   อิตาลี 13 8 13 34
8   เนเธอร์แลนด์ 12 9 4 25
9   คิวบา 11 11 7 29
10   สหราชอาณาจักร 11 10 7 28

อ้างอิง

แก้

ก่อนหน้า โอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ถัดไป
โอลิมปิกฤดูร้อน 1996
(แอตแลนตา สหรัฐ)
  การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
(15 กันยายน - 1 ตุลาคม ค.ศ. 2000)
  โอลิมปิกฤดูร้อน 2004
(เอเธนส์ กรีซ)
 

บทความกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล