หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล


ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการวิกิมีเดีย

Article Images

หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล

หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล (นามเดิม : หม่อมราชวงศ์เทพ เทวกุล ; 12 เมษายน พ.ศ. 2479) เป็นอดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา

เทพกมล เทวกุล

ไฟล์:Thepkamol Devakula.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าประชา คุณะเกษม
ถัดไปพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 เมษายน พ.ศ. 2479 (88 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงขวัญตา เทวกุล ณ อยุธยา
บุพการีหม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ เทวกุล

หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล เดิมมีนามว่า "หม่อมราชวงศ์เทพ เทวกุล" เป็นโอรสคนโตในหม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล กับหม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ เทวกุล (ราชสกุลเดิม กิติยากร) มีพี่สาวร่วมพระบิดาพระมารดา 1 ท่านคือ

หม่อมราชวงศ์นิศารัตน์ เทวกุล

สมรสกับคุณหญิงขวัญตา เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศิริวงศ์; บุตรสาวของนายแพทย์บุญจอง กับสมพ้อง ศิริวงศ์ (สกุลเดิม จันทร์ปรุง) หรือนามปากกา แข ณ วังน้อย) มีบุตรสาว 3 คน[1]

ม.ร.ว.เทพกมล จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร ปริญญาตรีด้านกฎหมาย Barrister-at-Law จากสถาบัน Middle Temple ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ม.ร.ว.เทพกมล เข้ารับราชการเลขานุการตรี กองสนธิสัญญา กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อปี 2506 ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งตามลำดับ คือ พ.ศ. 2510 เป็นเลขานุการโท สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2514 เป็นหัวหน้ากองอเมริกา กรมการเมือง ปี พ.ศ. 2516 เป็นหัวหน้ากองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง ปี พ.ศ. 2518 รองอธิบดีกรมพิธีการทูต และปี พ.ศ. 2519 รองอธิบดีกรมการเมือง

ในปี พ.ศ. 2522 เป็นเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า และเป็นเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมในปีถัดมา กระทั่งในปี พ.ศ. 2527 เป็นอธิบดีกรมการเมือง ในปี พ.ศ. 2532 เป็นรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และปี พ.ศ. 2533 เป็นเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ได้รับแต่งตั้งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จนเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2539 ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ม.ร.ว.เทพกมล ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[2] อีกตำแหน่งหนึ่ง

ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้แต่งตั้ง ม.ร.ว.เทพกมล ขณะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 แต่คณะรัฐมนตรีก็สิ้นสุดลงในวันเดียวกันเนื่องจากนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา

หม่อมราชวงศ์เทพได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2540[3] จนถึงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เมื่อมีการแต่งตั้งคณะองคมนตรีขึ้นใหม่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งของไทยและต่างประเทศ ดังนี้[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

พงศาวลีของหม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล
16. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
8. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
17. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
18. หลวงอาสาสำแดง (แตง)
9. สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
19. ท้าวสุจริตธำรง (นาค)
2. หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล
20.
10.
21.
5. หม่อมจันทน์ เทวกุล ณ อยุธยา
22.
11.
23.
1.หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล
24. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
12. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
25. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
6. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
26. พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร)
13. เจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5
27. ปราง สมบัติศิริ
3. หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ เทวกุล
28. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
14. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
29.สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
7. หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร
30. เจ้าพระยาสิริรัตนมนตรี (หงส์ สุจริตกุล)
15. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา
31. ท่านผู้หญิงตาด ธรรมสโรช
  1. ชีวประวัติ หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล[ลิงก์เสีย]
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (หม่อมราชวงศ์เทพ เทวกุล)
  4. 4.0 4.1 4.2 ชีวิต-งาน ม.ร.ว.เทพกมล เทวกุล ในวาระสิริอายุครบ 7 รอบ หน้า 226
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๙ มกราคม ๒๕๓๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓, ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐