หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์


ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการวิกิมีเดีย

Article Images

บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย

รองอำมาตย์เอก[1] หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493) มีพระนามลำลองว่า ท่านชายยี่ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประสูติแต่หม่อมมาลัย (สกุลเดิม เศวตามร์) มีโสทรเชษฐาหนึ่งองค์ คือ หม่อมเจ้าอ้าย จิตรพงศ์ มีภราดาและภคินีร่วมพระบิดาอีกเจ็ดองค์

หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ28 พฤษภาคม พ.ศ. 2440
สิ้นชีพตักษัย2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 (52 ปี)
หม่อมหม่อมอ่อน จิตรพงศ์ ณ อยุธยา
พระบุตรหม่อมราชวงศ์อุ่นใจ จิตรพงศ์
ราชสกุลจิตรพงศ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระมารดาหม่อมมาลัย จิตรพงศ์ ณ อยุธยา

ในระหว่างปี พ.ศ. 2466-2467 เมื่อครั้งทรงศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ณ ประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ ทรงดำรงตำแหน่ง สภานายกสมาคม "สามัคยานุเคราะห์สมาคม" อักษรย่อว่า "สยาม" โดยมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นเลขาธิการสมาคม

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วได้เสด็จกลับประเทศไทย เพื่อเข้ารับราชการในกรมรถไฟแผนกทางหลวงแผ่นดิน ดังที่หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร จิตรพงศ์ ได้กล่าวถึงในพระนิพนธ์ป้าป้อนหลาน ความว่า "วันตรุษจีนปีหนึ่ง ท่านลุงเจริญใจ ซึ่งจากบ้านไปเรียนวิชาวิศวกรรมอยู่ที่ประเทศอังกฤษเสียแต่เด็ก ๆ เป็นเวลาถึง 12 ปีกว่า กลับมาอยู่บ้านแล้ว แต่ต้องออกไปทำราชการเรื่องตัดถนนหนทางอยู่ตามหัวเมืองเสียโดยมาก ด้วยท่านทำงานอยู่กรมรถไฟแผนกทางหลวงแผ่นดิน จึงไม่ค่อยรู้เรื่องพิธีรีตรองหรือความเป็นไปของทางบ้าน ปีนั้นท่านอยู่ เราจึงชวนท่านไปด้วยกัน ท่านร้องยี้เซ่นไหว้ผีเจ้าบ้าบออะไรกันไม่รู้ไม่เล่นด้วยดอก ไม่ไปละ ป้าพยายามชักชวนเหนี่ยวรั้งเท่าไรท่านก็ไม่ยอมไป..."[2]

เมื่อครั้งที่ยังทรงรับราชการในแผนกทางหลวงแผ่นดิน หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ เป็นคณะทำงานร่วมกับขุนเจนจบทิศ ควบคุมการก่อสร้างสะพานโยง หรือสะพานข้ามลำน้ำงาว ซึ่งเป็นสะพานแขวนแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง เริ่มก่อสร้างก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2469 สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2471 ใช้เวลาการสร้าง 18 เดือน

หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ ได้รับพระราชทานยศเป็น "รองอำมาตย์เอก" เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 ในขณะดำรงตำแหน่งนายช่างทางผู้ช่วยกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม

และเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ พ.ศ. 2469 ในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินมาประทับร้อนที่เมืองงาวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4) ทองกรอบสร่งเงิน แก่รองอำมาตย์เอกหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ เมื่อครั้งที่ทรงรับราชการเป็นนายช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำงาว จังหวัดลำปาง[3]

หม่อมเจ้าเจริญใจทรงรับอุปถัมภ์โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดน่าน คือ โรงเรียนหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ (บ้านห้วยกานต์) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน

หม่อมเจ้าเจริญใจ เสกสมรสกับหม่อมอ่อน จิตรพงศ์ ณ อยุธยา มีโอรสเพียงคนเดียว คือ

  • หม่อมราชวงศ์อุ่นใจ จิตรพงศ์

หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 สิริชันษา 52 ปี

พระยศ

แก้

  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 รองอำมาตย์เอก [4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

พงศาวลีของหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์
16. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
8. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
17. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
18. เงิน แซ่ตัน
9. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
19. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
20. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
10. สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
21. เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ในรัชกาลที่ 3
5. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย
22. จีนก๊วง แซ่จิ๋ว
11. หม่อมกิ่ม ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
23. แตง แซ่ลี้
1. หม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์
6. พระสาครสมบัติ (เผือก เศวตามร์)
3. หม่อมมาลัย จิตรพงศ์ ณ อยุธยา

อ้างอิง

แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3908_1.PDF
  2. ป้าป้อนหลาน พระนิพนธ์ในหม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์. ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ วันที่ 14 มีนาคม พุทธศักราช 2550
  3. ข่าวเสด็จเลียบมณฑลพายัพ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2469 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/4030.PDF
  4. พระราชทานยศ
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/2551.PDF
  6. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 26 หน้า 277 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/277.PDF
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3908_1.PDF