เขตดอนเมือง


ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการวิกิมีเดีย

Article Images

เขตดอนเมือง

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ดอนเมือง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่น โดยมีแหล่งสถาบันราชการอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที่ เขตดอนเมืองมีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 11 ของกรุงเทพมหานคร

เขตดอนเมือง

การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Don Mueang
ภาพถ่ายทางอากาศของท่าอากาศยานดอนเมืองตอนกลางคืน

ภาพถ่ายทางอากาศของท่าอากาศยานดอนเมืองตอนกลางคืน

คำขวัญ: 

ประตูสู่ประเทศ อาณาเขตทัพฟ้า งามสง่าสนามบินดอนเมือง เลื่องชื่อรับชาวต่างประเทศ เหนือสุดเขตกรุงเทพมหานคร

แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตดอนเมือง

แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตดอนเมือง

พิกัด: 13°54′49″N 100°35′23″E / 13.91361°N 100.58972°E
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด36.803 ตร.กม. (14.210 ตร.ไมล์)
ประชากร

 (2566)

 • ทั้งหมด165,941[1] คน
 • ความหนาแน่น4,508.90 คน/ตร.กม. (11,678.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10210
รหัสภูมิศาสตร์1036
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 999 ถนนเชิดวุฒากาศ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/donmueang
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตดอนเมืองตั้งอยู่ทางเหนือสุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติและที่มาของชื่อ

แก้

ดอนเมืองเป็นพื้นที่ที่ราบสูงน้ำท่วมไม่ถึง อยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เดิมเป็นพื้นที่ป่าสะแกและทุ่งนา เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่าง ๆ เช่น ช้าง เป็นต้น เดิมพื้นที่บริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า ดอนอีเหยี่ยว เนื่องจากมีนกเหยี่ยวและนกแร้งอาศัยหากินอยู่เป็นจำนวนมาก มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ราว 50 หลังคาเรือน โดยมากจะอาศัยอยู่ตามริมท่าอากาศยานดอนเมืองในปัจจุบัน และริมคลองเปรมประชากร การคมนาคมมีแต่เพียงทางรถไฟที่จะเข้ากรุงเทพมหานคร หรือออกไปสู่ต่างจังหวัดเท่านั้น

ต่อมาใน พ.ศ. 2469 ทางการได้พิจารณาจัดตั้งกองการบิน สังกัดกองทัพบกขึ้น ซึ่งภายหลังได้ยกฐานะเป็นกองทัพอากาศ พร้อมทั้งได้ขอพระราชทานเปลี่ยนชื่อจากดอนอีเหยี่ยวเป็น ดอนเมือง โดยอยู่ในฐานะตำบลดอนเมืองและต่อมาเป็นตำบลตลาดบางเขน อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร[2]

จนกระทั่งใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอบางเขนได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตบางเขน ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง

ภายหลังพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กระทรวงมหาดไทยจึงได้รวมแขวงสีกัน แขวงทุ่งสองห้อง และแขวงตลาดบางเขนจัดตั้ง เขตดอนเมือง ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 จากนั้นก็ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและจัดตั้งเขตหลักสี่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ทำให้แขวงตลาดบางเขนถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนที่แยกไปรวมกับเขตหลักสี่กับส่วนที่ยังอยู่ในเขตดอนเมือง ต่อมากรุงเทพมหานครจึงประกาศจัดตั้งแขวงสีกันเต็มพื้นที่เขตดอนเมือง โดยรวมพื้นที่แขวงตลาดบางเขนเดิมเข้าไว้ด้วยเพื่อความชัดเจนในการปกครอง

เนื่องด้วยยังไม่มีประกาศกำหนดแนวพื้นที่แขวงให้มีความชัดเจนแน่นอน ทำให้เกิดความสับสน แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กรุงเทพมหานครจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมืองและแขวงสนามบินขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2552[3]

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง[4] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตดอนเมืองแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่

2.

สีกัน Si Kan

11.534

63,264

5,485.00

 

4.

ดอนเมือง Don Mueang

10.605

80,406

7,581.90

5.

สนามบิน Sanambin

14.664

22,271

1,518.75

ทั้งหมด

36.803

165,941

4,508.90

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตหลักสี่

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
เขตดอนเมือง[5]
ปี (พ.ศ.) ประชากร การเพิ่มและการลด
2535 218,362 ไม่ทราบ
2536 227,802 +9,440
2537 233,390 +5,588
2538 236,143 +2,753
2539 247,111 +10,968
2540 136,636 แบ่งเขต
2541 140,562 +3,926
2542 143,737 +3,175
2543 146,525 +2,788
2544 150,914 +4,389
2545 154,832 +3,918
2546 157,643 +2,811
2547 157,984 +341
2548 159,506 +1,512
2549 161,600 +2,094
2550 163,080 +1,480
2551 164,570 +1,490
2552 165,433 +863
2553 166,354 +921
2554 166,210 -144
2555 166,635 +425
2556 167,827 +1,192
2557 168,197 +370
2558 168,278 +81
2559 168,896 +618
2560 168,973 +77
2561 169,259 +286
2562 170,021 +762
2563 170,791 +770
2564 167,921 -2,870
2565 166,289 -1,632
2566 165,941 -348
 
ทางยกระดับอุตราภิมุข
 
สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม สถานีดอนเมือง

ในพื้นที่เขตดอนเมืองมีทางสายหลัก ได้แก่

ถนนสายรองในพื้นที่ได้แก่

ทางน้ำมีคลองถนน คลองวัดหลักสี่ คลองเปรมประชากร คลองตาอูฐ

ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง 24 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่นๆ ได้อย่างดี

เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย–อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน

เริ่มมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2495 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2495 ให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหารของทั้ง 3 กองทัพขึ้น เพื่อจัดเป็นประวัติศาสตร์และแสดงวิวัฒนาการในทางการทหารของประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน

มีจำนวน 7 แห่ง[6] ได้แก่

มีจำนวน 1 แห่ง ได้แก่

  • วัดมารีย์สวรรค์ ดอนเมือง
ในคติศาสนาแบบประเพณีจีน
  • ศาลเจ้าพ่อสมบุญ ตลาดฝั่งโขง
  • ศาลเจ้าพ่อสมบุญ ตลาดใหม่ดอนเมือง
  • ศาลเจ้าพ่อสมบูรณ์-เจ้าพ่อทงเทง
  • ศาลเจ้าพ่อสมจิตต์
ในคติศาสนาพื้นเมืองเดิมของไทย
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 27 มกราคม 2567.
  2. 'ดอนเมือง' ชื่อนั้นสำคัญไฉน, "กับแกล้มการเมือง". คอลัมน์หน้า 9 เดลินิวส์ฉบับที่ 23,257: วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง
  3. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง[ลิงก์เสีย]
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/137/61.PDF
  5. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  6. https://webportal.bangkok.go.th/donmueang/page/sub/563/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95