เขตทุ่งครุ


ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการวิกิมีเดีย

Article Images

เขตทุ่งครุ

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ทุ่งครุ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลักทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

เขตทุ่งครุ

การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Thung Khru
วัดหลวงพ่อโอภาสี
คำขวัญ: 

หลวงพ่อโอภาสีที่ศักดิ์สิทธิ์ สัตว์เศรษฐกิจแพะแกะไก่ปลา นกเขาชวาเสียงดี กล้วยไม้หลากสีหลายพันธุ์ มะม่วงนวลจันทร์เลิศรส ส้มบางมดเลื่องชื่อลือนาม

แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตทุ่งครุ

แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตทุ่งครุ

พิกัด: 13°36′42.25″N 100°30′34.40″E / 13.6117361°N 100.5095556°E
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด30.741 ตร.กม. (11.869 ตร.ไมล์)
ประชากร

 (2566)

 • ทั้งหมด124,093[1] คน
 • ความหนาแน่น4,036.73 คน/ตร.กม. (10,455.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10140
รหัสภูมิศาสตร์1049
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 2 ซอยประชาอุทิศ 86 (พึ่งสายบำเพ็ญ) ถนนประชาอุทิศ แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/thungkhru
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตทุ่งครุตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตราษฎร์บูรณะ มีลำรางสาธารณะ คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองตาเทียบ คลองราษฎร์บูรณะ คลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์ ลำรางสาธารณะ คลองแจงร้อน และลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางพึ่ง ลำรางสาธารณะ คลองขุดเจ้าเมือง และคลองรางใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางจาก คลองกะออมใน คลองท่าเกวียน คลองตาสน และคลองกะออมเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน มีคลองรางแม่น้ำและคลองบางมดเป็นเส้นแบ่งเขต

เดิมทุ่งครุมีฐานะเป็น ตำบลทุ่งครุ ขึ้นอยู่กับอำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ต่อมาอำเภอราษฎร์บูรณะได้ถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดพระประแดงอยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่งจังหวัดนี้ถูกยุบลงเป็นอำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะรวมทั้งตำบลทุ่งครุจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดธนบุรีอีกครั้ง และภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกชื่อตำบลและอำเภอใหม่ด้วย ตำบลทุ่งครุจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทุ่งครุ ขึ้นกับสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ จนกระทั่งวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตทุ่งครุ ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตราษฎร์บูรณะออกมา 2 แขวง

ท้องที่เขตทุ่งครุแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยมีคลองราชพฤกษ์และคลองสะพานควายเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่

1.

บางมด Bang Mot

12.765

55,029

4,310.93

 

2.

ทุ่งครุ Thung Khru

17.976

69,064

3,842.01

ทั้งหมด

30.741

124,093

4,036.73

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
เขตทุ่งครุ[2]
ปี (พ.ศ.) ประชากร การเพิ่มและการลด
2541 84,561 แบ่งเขต
2542 87,609 +3,048
2543 90,427 +2,818
2544 93,496 +3,069
2545 97,164 +3,668
2546 101,254 +4,090
2547 104,828 +3,574
2548 107,609 +2,781
2549 110,469 +2,860
2550 111,621 +1,152
2551 113,008 +1,387
2552 114,180 +1,172
2553 115,131 +951
2554 115,823 +692
2555 116,523 +700
2556 117,662 +1,139
2557 119,349 +1,687
2558 120,613 +1,264
2559 120,976 +363
2560 121,833 +857
2561 122,296 +463
2562 123,048 +752
2563 123,700 +652
2564 123,392 -308
2565 123,761 +369
2566 124,093 +332

ในพื้นที่เขตทุ่งครุมีทางสายหลัก ได้แก่

  • ถนนประชาอุทิศ ตั้งแต่คลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์จนถึงคลองบางจาก (สิ้นสุดเขตกรุงเทพมหานคร)
  • ถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่คลองบางมด จนถึงคลองขุดเจ้าเมือง(สิ้นสุดเขตกรุงเทพมหานคร)

ทางสายรองได้แก่

 
สนามเฉลิมพระเกียรติ บางมด
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
  2. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.