เขตบึงกุ่ม


ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการวิกิมีเดีย

Article Images

เขตบึงกุ่ม

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

บึงกุ่ม เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางตอนกลางของพื้นที่

เขตบึงกุ่ม

การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Bueng Kum
สวนเสรีไทย

ตราอย่างเป็นทางการของเขตบึงกุ่ม
ตรา

คำขวัญ: 

บึงกุ่มงาม สวนน้ำใหญ่
แหล่งพักอาศัย ประชาร่วมใจพัฒนา

แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบึงกุ่ม

แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบึงกุ่ม

พิกัด: 13°47′7″N 100°40′9″E / 13.78528°N 100.66917°E
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด24.311 ตร.กม. (9.387 ตร.ไมล์)
ประชากร

 (2566)

 • ทั้งหมด137,125[1] คน
 • ความหนาแน่น5,640.45 คน/ตร.กม. (14,608.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10240,
10230 (เฉพาะแขวงนวลจันทร์, ซอยนวมินทร์ 103-111 แขวงนวมินทร์ และซอยนวมินทร์ 64-68, 74 แขวงคลองกุ่ม)
รหัสภูมิศาสตร์1027
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 999 ซอยเสรีไทย 43 (ทางเข้าสำนักงานเขตบึงกุ่ม) ถนนเสรีไทย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10240
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/buengkum
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตบึงกุ่มตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ประมาณ พ.ศ. 2386 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เขตบึงกุ่มและเขตคันนายาวในปัจจุบัน[3] ในย่านนั้นมีคลองสายหนึ่งซึ่งแยกจากคลองแสนแสบและไหลผ่านบึงเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่[4] มีต้นกุ่มขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก[5] จึงเรียกแหล่งน้ำสองแห่งนั้นว่า "คลองกุ่ม" และ "บึงกุ่ม"

เมื่อมีผู้คนอพยพเข้าไปอาศัยและทำมาหากินในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น ย่านคลองกุ่มและพื้นที่ใกล้เคียงจึงได้รับการจัดตั้งเป็น ตำบลคลองกุ่ม เป็นตำบลหนึ่งที่ขึ้นกับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยกระทรวงมหาดไทยก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคลองกุ่มด้วยใน พ.ศ. 2506[6]

ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลคลองกุ่มได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองกุ่ม อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

เนื่องจากเขตบางกะปิมีพื้นที่กว้างขวางมากและมีประชากรหนาแน่นขึ้น เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่โดยแยกแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่โดยใช้ชื่อว่า เขตบึงกุ่ม[9] เนื่องจากตั้งสำนักงานเขตอยู่ใกล้กับสวนสาธารณะบึงกุ่ม[5] จนกระทั่ง พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบึงกุ่ม โดยยกฐานะแขวงคันนายาวรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงคลองกุ่ม[10] ขึ้นเป็นเขตคันนายาว[11] และยกฐานะแขวงสะพานสูงขึ้นเป็นเขตสะพานสูง[11]

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองกุ่ม และตั้งแขวงนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน[12] ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตบึงกุ่มแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่

1.

คลองกุ่ม Khlong Kum

10.811

66,932

6,191.10

 

4.

นวมินทร์ Nawamin

4.885

26,338

5,391.61

5.

นวลจันทร์ Nuan Chan

8.615

43,855

5,090.54

ทั้งหมด

24.311

137,125

5,640.45

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตสะพานสูงและเขตคันนายาว

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
เขตบึงกุ่ม[13]
ปี (พ.ศ.) ประชากร การเพิ่มและการลด
2535 211,740 ไม่ทราบ
2536 214,479 +2,739
2537 214,811 +332
2538 226,652 +11,841
2539 235,012 +8,360
2540 134,573 แบ่งเขต
2541 135,851 +1,278
2542 136,617 +766
2543 137,184 +567
2544 139,424 +2,240
2545 141,017 +1,593
2546 141,465 +448
2547 138,335 -3,130
2548 138,501 +166
2549 140,580 +2,079
2550 145,172 +4,592
2551 147,466 +2,294
2552 147,712 +246
2553 147,030 -682
2554 146,197 -833
2555 145,795 -402
2556 145,822 +27
2557 145,514 -308
2558 144,661 -853
2559 144,449 -212
2560 143,835 -614
2561 142,990 -845
2562 142,237 -753
2563 140,817 -1,420
2564 139,334 -1,483
2565 138,050 -1,284
2566 137,125 -925

ตราสัญลักษณ์ประจำเขตบึงกุ่ม มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ และความหมายดังนี้

  • พื้นน้ำสีฟ้าคราม แทนความหมายของความสงบสุข ร่มเย็น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
  • ดอกกุ่มสามดอก แทนความหมายของประชาชนในพื้นที่เขตบึงกุ่มทั้งสามศาสนา ทั้งไทยพุทธ คริสต์ อิสลาม ที่อยู่ร่วมกันด้วยความรัก สามัคคี
  • นกสองตัวบินอยู่บนท้องฟ้าเหนือพื้นดิน ผืนน้ำ แทนความหมายของความเป็นอิสระในความคิด แสดงถึงการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสอดคล้องและเดินไปในทิศทางเดียวกัน รูปวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายข้างต้นทั้งหมด แทนความหมายของความสมานสามัคคี ความกลมเกลียวกัน
 
ถนนนวมินทร์ ช่วงใกล้กับโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒

ในพื้นที่เขตบึงกุ่มมีทางสายหลัก ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
  2. ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 24 ตุลาคม 2551.
  3. สำนักงานเขตคันนายาว. "ประวัติความเป็นมาของเขตคันนายาว." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001004&strSection=aboutus&intContentID=48 เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 7 มีนาคม 2555.
  4. สำนักงานสวนสาธารณะ. สำนักสิ่งแวดล้อม. สวนเสรีไทย. เก็บถาวร 2008-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 26 ตุลาคม 2551.
  5. 5.0 5.1 สำนักงานเขตบึงกุ่ม. ประวัติความเป็นมาของเขตบึงกุ่ม. เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 26 ตุลาคม 2551.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางกะปิ อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (114 ง): 2628–2629. 26 พฤศจิกายน 2506.
  7. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21.
  8. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และตั้งเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (พิเศษ 155 ง): 18. 16 กันยายน 2532.
  10. ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่มชี้แจงการตั้งเขตใหม่. สืบค้น 25 ตุลาคม 2551.
  11. 11.0 11.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ และตั้งเขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 6–19. 18 พฤศจิกายน 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/137/50.PDF
  13. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.