ธนพล อินทฤทธิ์


ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการวิกิมีเดีย

Article Images

ธนพล อินทฤทธิ์

(เปลี่ยนทางจาก เสือ ธนพล)

ธนพล อินทฤทธิ์ ชื่อเล่น เสือ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ที่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นนักร้อง, นักดนตรี, โปรดิวเซอร์, นักแต่งเพลงชาวไทย และทำงานเบื้องหลังให้แก่ศิลปิน อาทิ เช่น อิทธิ พลางกูร, ไฮ-ร็อก, เจี๊ยบ - พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร ฯลฯ

ธนพล อินทฤทธิ์

เกิด18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
ที่เกิดไทย จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก
โพรเกรสซิฟร็อก
ฮาร์ดร็อก
ป็อปร็อก
เพื่อชีวิต
คันทรี
บลูส์
อาชีพนักร้อง, นักดนตรี, โปรดิวเซอร์เพลง], นักแต่งเพลง
เครื่องดนตรีกีตาร์, เมาท์ออร์แกน
ช่วงปีพ.ศ. 2537–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอาร์เอส (พ.ศ. 2531 – 2540)
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (พ.ศ. 2541 – 2554)
อิสระ (พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน)

เสือ จบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาโสตทัศนศึกษา เข้าสู่วงการเพลงด้วยการตั้งวงดนตรีของตนเองร่วมกับเพื่อน ๆ และญาติ ๆ ในชื่อ เฉียงเหนือ เป็นวงแบ็กอัพรวมถึงร่วมเล่นกับวงอื่นตระเวนเล่นทั่วไปตามพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[1] จากนั้นก็ได้เข้าทำงานในสังกัด บริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น (ปัจจุบัน ใช้ชื่อว่า บริษัท อาร์เอส จำกัด) ในฐานะฝ่ายศิลป์และคอสตูม โดยเป็นผู้ออกแบบปกอัลบั้มชุดที่ 6 ให้กับฟรุตตี้ และแต่งเพลงให้กับศิลปินหลายรายในค่าย เช่น ฟรุตตี้ และที่ประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เก็บตะวัน ซึ่งเป็นเพลงเปิดตัวของอิทธิ พลางกูร และเพลงนี้ก็ได้กลายมาเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของอิทธิและได้รับความนิยมมาปัจจุบัน รวมถึงแต่งให้กับศิลปินต่างค่ายด้วย เช่น เบิร์ด–ธงไชย แมคอินไตย์, เทียรี่ เมฆวัฒนา จากนั้นจึงเริ่มทำงานเบื้องหลังให้แก่ศิลปินรายต่าง ๆ ของอาร์เอส โดยเป็นโปรดิวเซอร์ แต่งเพลง ทำนอง รวมทั้งเป็นแมวมองด้วย ด้วยการขอโอกาสจากผู้บริหารค่าย[2] ซึ่งศิลปินที่เข้าสู่วงการด้วยการชักชวนของเสือ ได้แก่ ไฮ-ร็อก, เอาท์ไซเดอร์, แร็พเตอร์ เป็นต้น

เสือได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในปี พ.ศ. 2537 เมื่อได้ออกอัลบั้มชุดแรกในชีวิตกับทางอาร์เอส ในชื่อชุด ทีของเสือ มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น รักคงยังไม่พอ, กระดาษห่อไฟ, ชีวิตหนี้, เรือลำหนึ่ง, 18 ฝน เป็นต้น และได้ขึ้นแสดงบนเวทีช็อต ชาร์จ ช็อก ร็อก คอนเสิร์ต ครั้งที่ 2 ในชื่อ เสืออำพัน ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน ที่สนามกีฬากองทัพบก ร่วมกับเป้–อนุวรรตน์ ทับวัง และเจี๊ยบ–พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร ด้วย

ในปี พ.ศ. 2541 เสือได้ย้ายสังกัดไปเซ็นสัญญากับแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (ปัจจุบันคือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) และเป็นผู้ร่วมบริหารค่ายเมกเกอร์เฮด พร้อมทั้งได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง ชื่อ ใจดีสู้เสือ มีเพลงที่ได้รับความนิยม คือ เศษ, ใจดีสู้เสือ, ดูโง่โง่, มีอะไรยั่งยืน เป็นต้น รวมถึงแต่งเพลงให้ศิลปินในสังกัดแกรมมี่ทั้งไบรโอนี่, ธงไชย แมคอินไตย์ ในปี พ.ศ. 2546 เสือ ได้ขึ้นเป็นผู้บริหารค่ายมิวสิก อาร์มี่ ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่นกัน

จากนั้น ได้ทำงานเบื้องหลังควบคู่ไปกับการออกอัลบั้มต่อไป โดยมี จิตติพล บัวเนียม เป็นโปรดิวเซอร์ในการออกอัลบั้มเพลง

บทเพลงของเสือเกือบทุกเพลงจะเขียนเองโดยตลอด มักมีกลิ่นอายของเพลงเพื่อชีวิตเจือปน มีภาษาและเนื้อหาเป็นเอกลักษณ์ของตน สะท้อนถึงปัญหาการใช้ชีวิตในสังคม และมุมมองการใช้ชีวิตด้วย แม้จะไม่มีใครจัดว่าเสือเป็นศิลปินนักดนตรีเพื่อชีวิตก็ตาม แต่ผลงานเพลงคุณภาพแต่ละอัลบั้มที่เสือทำ ล้วนแล้วมาจากความตั้งใจจริง

ด้านชีวิตครอบครัว เสือมีลูกชายและลูกสาวทั้งหมด 3 คน คือ เพลง–ธนิสสา, เพื่อน–เมธิสสา และภูมิ–ภูมิธฤทธิ์ ซึ่งคนโต (เพลง–ธนิสสา อินทฤทธิ์) เป็น 1 ในสมาชิกวงเกิร์ลกรุป ไกอา[3]

อัลบั้มที่ผลิตโดยในสังกัดอาร์เอส
อัลบั้มที่ผลิตโดยในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • คนขายฝัน - เพลงพิเศษจากมหกรรมคอนเสิร์ต "ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย" (สิงหาคม 2545)
  • เชื่อในความฝัน (สิงหาคม 2546) (ผลงานร่วมกันกับ แคลช, บอดี้สแลม, บิ๊กแอส, กะลา, เอบีนอร์มัล, ปาล์มมี่, แบล็คเฮด, พีชเมกเกอร์, แท็กชี่, ลาบานูน, แมว จิระศักดิ์, ป้าง นครินทร์, บางแก้ว)
  • ชั่วข้ามคืน (28 กันยายน 2561)
  • นับ 1 ถึง 100 (7 กรกฎาคม 2562) (ผลงานร่วมกับ 25hours)
  • สู้ไปด้วยกัน (2563) (ผลงานร่วมกันกับ ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์, อานนท์ สายแสงจันทร์, พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร, ระหัส ราชคำ, สำราญ ช่วยจำแนก)
  • รอยร้าว (15 สิงหาคม 2565)
  • นักดนตรี (28 เมษายน 2565) (ผลงานร่วมกันกับ ค็อกเทล, จ๋าย & โฟโมส TaitosmitH)

อัลบั้มรวมเพลงและอัลบั้มพิเศษ

แก้

อัลบั้มที่ผลิตโดยในสังกัดอาร์เอส
  • The Best Of เสือ ธนพล (2539)
  • Save Hits เสือ ธนพล (2540)
  • รวมฮิตตำนานเสือ (2540)
  • Big Bonus เสือ ธนพล (2541)
  • รวมเพลง เสือคำราม (17 ตุลาคม 2543)
  • The Best Of เสือ ธนพล (2544)
  • Superstar Karaoke เสือ ธนพล Vol.30 (2544)
  • หัวใจเสือ (ตุลาคม 2550)
  • เสือ ธนพล - RS Best Collection (พฤษภาคม 2554)
  • ROCK LEGEND - เสือ ธนพล (2555)
  • RS Classic เสือ ธนพล (1 มิถุนายน 2556)
อัลบั้มที่ผลิตโดยในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • THE VERY BEST OF เสือ ธนพล (พฤษภาคม 2544)
  • หัวใจเสือ (19 ตุลาคม 2547)
  • เสือ 12 ปี หัวใจเดียวกัน The Acoustic Collection (4 เมษายน 2549)
  • Forever Love Hits By เสือ ธนพล (29 เมษายน 2553)
  • Best Of เสือ ธนพล (27 กุมภาพันธ์ 2557)
  • Signature Collection Of เสือ ธนพล (พฤศจิกายน 2561)
  • X-Change 2 (8 เมษายน 2542)
    • ถ่านไฟเก่า
  • 2 ทศวรรษ สลา คุณวุฒิ ชุด 1 ด้วยรักจากพี่น้อง (29 กรกฏาคม 2546)
    • ต้องมีสักวัน
  • วันฟ้าใหม่ (9 ธันวาคม 2548)
    • ยังรักยังรอ
  • ลูกทุ่งไร้พรหมแดน (22 สิงหาคม 2556)
    • สามคำจากใจ

อัลบั้ม​ แม่น้ำ​ (ทำเพื่อโปรโมทการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี) ​ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอัลบั้ม​ ลำน้ำใจ​ มีหลายศิลปินร่วมทำ

ศิลปินรับเชิญในอัลบั้ม

แก้

  • เล่นเมาท์ออแกนในอัลบั้ม อาร์เอส อันปลั๊ก ดนตรีนอกเวลา ของ รวมศิลปิน (2537)
  • เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง รู้สึกดีๆ ในอัลบั้ม แทนความรู้สึกดี ๆ ของ แหม่ม พัชริดา (2539)
  • โปรดิวเซอร์, เรียบเรียงดนตรี, เล่นกีตาร์ในอัลบั้ม Waab Boys ของ แร็พเตอร์ (2539)
  • แก้วตาดวงใจ (เพลงประกอบละคร แก้วตาดวงใจ) (2534)
  • คดีแดง (เพลงประกอบละคร คดีแดง) (2534)
  • เสียคน (เพลงประกอบละคร น้ำพุ) (2545)
  • ร้องไห้กับฉัน (เพลงประกอบละคร ลูกไม้หลากสี) (2548)
  • ต้นทุน (เพลงประกอบละคร สามหัวใจเสริมใยเหล็ก) (2557)

ผลงานการแต่งเพลงให้กับศิลปินอื่น

แก้

  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2541 สาขาเพลงยอดเยี่ยม จากเพลง มีอะไรยั่งยืน
  • เพชรในเพลง ประจำปี พ.ศ. 2549 สาขาผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย จากเพลง รักคนไทย