จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการวิกิมีเดีย

Article Images

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จังหวัดในภาคตะวันตกในประเทศไทย

ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีรูปร่างยาวในแนวเหนือ-ใต้ และแคบในแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยส่วนที่แคบที่สุดมีระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอยู่ที่เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในขณะที่ชุมชนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ เทศบาลเมืองหัวหิน

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Prachuap Khiri Khan

จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง: อำเภอหัวหิน, พระมหาเจดีย์ภักดีประกาศ, อุทยานราชภักดิ์, สนามกีฬาสามอ่าว, อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง, เขาสามร้อยยอด

คำขวัญ: 

เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด
สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เน้นสีแดง

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เน้นสีแดง

ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ สมคิด จันทมฤก[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด6,367.620 ตร.กม. (2,458.552 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 32
ประชากร

 (พ.ศ. 2566)[3]

 • ทั้งหมด550,977 คน
 • อันดับอันดับที่ 45
 • ความหนาแน่น86.52 คน/ตร.กม. (224.1 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 58
รหัส ISO 3166TH-77
ชื่อไทยอื่น ๆประจวบ, บางนางรม
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้เกด
 • ดอกไม้เกด
 • สัตว์น้ำปลานวลจันทร์ทะเล
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนสละชีพ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
 • โทรศัพท์0 3260 3991-5
 • โทรสาร0 3260 3991-5
เว็บไซต์www.prachuapkhirikhan.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงครามยากแก่การป้องกันจึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้างหรือยุบเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเพชรบุรี ในอดีตเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเพชรบุรี พอถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้ง เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม แต่ที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกจึงย้ายที่ว่าการเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์และการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นกว่า

ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2398 โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกุย เมืองคลองวาฬ และเมืองบางนางรมเข้าด้วยกัน โดยที่ตั้งเมืองยังคงตั้งอยู่ที่เมืองกุย (คืออำเภอกุยบุรีในปัจจุบัน) และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกุยเป็น เมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ชื่อคล้องจองกันกับเมืองประจันตคีรีเขตซึ่งเดิมคือเกาะกงที่แยกออกจากจังหวัดตราด

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2441 จึงย้ายเมืองมาอยู่ที่บ้านเกาะหลัก ต่อมาพระองค์ทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองชั้นจัตวาซึ่งขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรี มีฐานะเป็นอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สังกัดเมืองเพชรบุรี ในช่วงนี้เมืองปราณบุรีซึ่งมีอาณาเขตติดอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ด้านทิศเหนือและเคยมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวาขึ้นกับเมืองเพชรบุรี ก็ได้จัดตั้งเป็นอำเภอเมืองปราณบุรี สังกัดเมืองเพชรบุรีด้วย[4] ส่วนเมืองกำเนิดนพคุณขึ้นตรงกับเมืองชุมพร ด้วยมีพระราชดำริสงวนชื่อเมืองปราณไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) ต่อมา วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ เมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อน ตั้งเป็นเมืองปราณบุรี[5] มีที่ทำการเมืองอยู่ที่ตำบลเกาะหลัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสนกับเมืองปราณที่ปากน้ำปราณบุรี[6][7] หลังจากมีการยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรีและมณฑลราชบุรีอีก

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตั้งอยู่ในภาคตะวันตก ตามการแบ่งระบบ 6 ภาคอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติและราชบัณฑิตยสภา ในขณะที่การแบ่งภูมิภาคด้วยระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) จัดเป็นจังหวัดในภาคกลาง และการแบ่งทางอุตุนิยมวิทยาจัดเป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร มีส่วนที่แคบที่สุดอยู่ในตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จากอ่าวไทยถึงเขตแดนพม่าประมาณ 12 กิโลเมตร มีเขาที่สูงที่สุดคือ เขาหลวงประจวบ มีความสูง 1,250 เมตร ระยะทางจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 399 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเศษ และตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ 318 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-6 ชั่วโมง

 
แผนที่อำเภอในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 388 หมู่บ้าน

ลำดับ ชื่ออำเภอ อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
ระยะห่างจาก
อำเภอเมือง (กม.)
1 เมืองประจวบคีรีขันธ์ Mueang Prachuap Khiri Khan 844.00
2 กุยบุรี Kui Buri 935.40 34
3 ทับสะแก Thap Sakae 538.00 43
4 บางสะพาน Bang Saphan 868.00 88
5 บางสะพานน้อย Bang Saphan Noi 720.00 109
6 ปราณบุรี Pran Buri 765.37 71
7 หัวหิน Hua Hin 838.90 88
8 สามร้อยยอด Sam Roi Yot 871.90 56

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 61 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ และเทศบาลเมืองหัวหิน, เทศบาลตำบล 14 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 44 แห่ง[8] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีดังนี้

อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
อำเภอกุยบุรี
  • เทศบาลตำบลกุยบุรี
  • เทศบาลตำบลไร่ใหม่[ก]
อำเภอทับสะแก
  • เทศบาลตำบลทับสะแก
อำเภอบางสะพาน
  • เทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ
  • เทศบาลตำบลบ้านกรูด
  • เทศบาลตำบลร่อนทอง
อำเภอบางสะพานน้อย
  • เทศบาลตำบลบางสะพานน้อย
อำเภอปราณบุรี
  • เทศบาลตำบลปราณบุรี
  • เทศบาลตำบลปากน้ำปราณ
  • เทศบาลตำบลเขาน้อย
อำเภอหัวหิน
อำเภอสามร้อยยอด
  • เทศบาลตำบลไร่ใหม่[ก]
  • เทศบาลตำบลไร่เก่า
หมายเหตุ
เทศบาลตำบลไร่ใหม่ตั้งอยู่ทั้งในอำเภอกุยบุรีและในอำเภอสามร้อยยอด

ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัด

แก้

ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อ ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง
1. พระพิชัยชลสินธ์ (จันทร์ ไชยมงคล) ไม่ทราบข้อมูล
2. พระพิชัยชลสินธ์ (สิงห์ ไชยมงคล) ไม่ทราบข้อมูล
3. พระพิชัยชลสินธ์ (พุธ ไชยมงคล) ไม่ทราบข้อมูล
4. หลวงบริบาลคีรีมาส (ทิม) พ.ศ. 2436
5. พระพิบูลย์สงคราม (จร) พ.ศ. 2444–2450
6. หม่อมเจ้าปรานีเนาวบุตร นวรัตน พ.ศ. 2450–2458
7. พระยาสวัสดิ์คีรีศรีสมันตราษฎรนายก พ.ศ. 2458–2471
8. อำมาตย์เอก หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม พ.ศ. 2471–2476
9. หลวงภูวนารถนรานุบาล พ.ศ. 2476–2478
10. พระบริหารเทพธานี พ.ศ. 2478–2479
11. หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ พ.ศ. 2480
12. หลวงวิมลประชาภัย พ.ศ. 2480–2481
13. นาวาโทขุนจำนงภูมิเวท พ.ศ. 2481
14. ขุนบำรุงรัตนบุรี พ.ศ. 2481–2484
15. นาวาโท สุรชิตชาญฤทธิ์รณ สุวรรณโนดม พ.ศ. 2485–2487
16. นายแม้น อรจันทร์ พ.ศ. 2482–2487
17. ขุนสำราญราษฎร์บริรักษ์ พ.ศ. 2487–2488
18. นายอุดม บุญยประสพ พ.ศ. 2488–2489
19. ขุนสนิทประชาราษฎร์ พ.ศ. 2489–2490
20. ขุนปัญจพรรคพิบูล (พิบูล ปัญจพรรค์) พ.ศ. 2490–2491
21. นายถนอม วิบูลย์มงคล พ.ศ. 2491–2492
22. นายแสวง พิมทอง พ.ศ. 2492–2494
23. นายประสงค์ อิศรภักดี พ.ศ. 2494–2495
24. นายอรรถ วิสูตรโยธาพิบาล พ.ศ. 2495
25. พันตำรวจเอก จำรัส โรจนจันทร์ พ.ศ. 2495–2496
26. นายแสวง รุจิรัตน์ พ.ศ. 2496
27. พันตำรวจเอก ตระกูล วิเศษรัตน์ พ.ศ. 2496–2497
ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ต่อ)
ชื่อ ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง
28. นายประสงค์ อิศรภักดี พ.ศ. 2497–2499
29. นายสอาด ปายะนันท์ พ.ศ. 2499–2503
30. นายประจักษ์ วัชรปาน พ.ศ. 2503–2510
31. นายประหยัด สมานมิตร พ.ศ. 2510–2513
32. นายสุวิทย์ ยิ่งวรพันธุ์ พ.ศ. 2513–2515
33. นายสุชาติ พัววิไล พ.ศ. 2515–2518
34. นายสอาด ศิริพัฒน์ พ.ศ. 2518–2519
35. นายปฐม สุทธิวาทนฤพุฒิ พ.ศ. 2519–2522
36. นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ พ.ศ. 2522–2523
37. นายเสน่ห์ วัฑฒทาธร พ.ศ. 2523–2525
38. นาวาเอก จำลอง ประเสริฐยิ่ง พ.ศ. 2525–2526
39. นายบรรโลม ภุชงคกุล พ.ศ. 2526–2528
40. หม่อมหลวงภัคศุก กำภู พ.ศ. 2528–2529
41. นายบุญช่วย ศรีสารคาม พ.ศ. 2529–2532
42. ร้อยเอก อำนวย ไทยานนท์ พ.ศ. 2532–2537
43. นายกอบกุล ทองลงยา พ.ศ. 2537–2539
44. นายประสงค์ พิทูรกิจจา พ.ศ. 2539–2547 (ครั้งที่ 1)
45. นายกิตติพงษ์ สุนานันท์ พ.ศ. 2547–2549
44. นายประสงค์ พิทูรกิจจา พ.ศ. 2549–2551 (ครั้งที่ 2)
46. นายปานชัย บวรรัตนปราณ พ.ศ. 2551–2552
47. นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล พ.ศ. 2552–2556 (ครั้งที่ 1)
48. นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ พ.ศ. 2556
47. นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล พ.ศ. 2556–2558 (ครั้งที่ 2)
49. นายทวี นริสศิริกุล พ.ศ. 2558–2560
50. นายพัลลภ สิงหเสนี พ.ศ. 2560–2564
51. นายเสถียร เจริญเหรียญ พ.ศ. 2564–2566[9]
52.นายนิติ วิวัฒน์วานิช 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566[10] - 11 มกราคม พ.ศ. 2567
53.นายสมคิด จันทมฤก 19 มีนาคม พ.ศ. 2567- ปัจจุบัน
 
อ่าวมะนาว
 
อ่าวน้อย
  • ศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างขึ้นมาในสมัย ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดศาลหลักเมือง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เพื่อให้เป็นสิริมงคลและเป็นหลักชัยคู่บ้านคู่เมือง
  • ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร[11] มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[12] เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่
  • หาดบางเบิด
  • หาดแหลมสน
 
พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ
วัดทางสาย อำเภอบางสะพาน
 
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 11 มีนาคม 2565.
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย [[ปรับปรุงการจัดตั้งแบ่งเขตแขวงเมืองเพ็ชร์บุรีเสียใหม่ โดยให้มี ๖ อำเภอ และการจัดกรมการอำเภอ] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่๑๘ ตอนที่ ๕ ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ หน้าที่ ๕๙
  5. ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒
  6. ประกาศ เปลี่ยนนามเมืองปราณบุรี เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๒ ตอนที่ ๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ หน้าที่ ๑๗๖
  7. สุรินทร์ บัวงาม."บันทึกตำนานเมืองปราณบุรี", ประจวบคีรีขันธ์ : สภาวัฒนธรรมอำเภอปราณบุรี, 2544. หน้า 87-88 อ้างใน http://gold.rajabhat.edu/rLocal/stories.php?story=03/11/18/8802034 เก็บถาวร 2012-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 14 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  11. พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙ เล่มที่ ๑๒๓ ตอนที่ ๘๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หน้า ๑
  12. "ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-10-21.

11°49′N 99°48′E / 11.82°N 99.8°E